มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม มพส

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวทั่วไป

บทความ

ข่าวสารและกิจกรรม

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ มพส.นำคณะเจ้าหน้าที่ มพส. ศึกษาดูงานเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัทเคียวเซร่าจำกัด และระบบโครงข่ายอัจฉริยะ,ระบบมิเตอร์อัจฉริยะ ของบริษัทเอเนเกทจำกัด ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10-14 ธ.ค. 55

        ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ มพส. นำคณะเจ้าหน้าที่ มพส. เดินทางได้ไปยัง บริษัท เคียวเซร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด สำนักงานใหญ่ (ประเทศญี่ปุ่น) โดยบริษัทฯ ก่อตั้งวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2502 มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย เช่น ชื้นส่วนที่เป็นส่วนประกอบของ Fiber-Optic ชิ้นส่วนที่ใช้ใน Smart Phone กล้องดิจิตอล ชิ้นส่วนเซรามิคสำหรับ Semiconductor เครื่องถ่ายเอกสาร รวมไปถึงแผงโซลาร์เซลล์ เป็นต้น บริษัทฯ เริ่มพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 คณะได้เข้าชมโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ รวมถึงการทดสอบแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งจะต้องผ่านระบบทดสอบภายในของบริษัทฯ เอง และต้องผ่านการทดสอบ Fraunhofer ของ TUV ซึ่งบริษัทที่ผ่านการทดสอบดังกล่าวทั่วโลกมีอยู่ 4 บริษัท คือ (1) Canadian Solar Inc., (2) Kyocera Solar (3) LG Electronics และ (4) LUXOR Solar GmbH

         รัฐบาลญี่ปุ่นมีการสนับสนุนโดยให้เงิน Subsidy แก่ผู้อยู่อาศัยที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้อยู่อาศัยเป็น ผู้ผลิตไฟฟ้า
ประเภท Solar Rooftop และทางบริษัทฯ เองก็มีการติดตั้ง Solar Roof ไว้บนหลังคาสำนักงานใหญ่ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ Kyocera Franchise ซึ่งเป็นร้านที่ขาย Solar Roof ให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยลักษณะแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาแตกต่างกันตามลักษณะของหลังคา โดยแบ่งเป็น
       1. แบบ SAMURAI: เป็นแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็ก ทรงสี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมทำให้สามารถเข้ามุมบนหลังคาที่มีขนาดเล็กและมีความซับซ้อน ข้อดี เหมาะกับหลังคาขนาดเล็ก จำนวนกิโลวัตต์ที่ติดตั้งได้มากขึ้น ข้อเสีย ราคาแพงกว่าแบบ ECONO ROOTS ประมาณ 10%
      2. ECONO ROOTS: เป็นแผงโซลาร์เซลล์ขนาดกลางหรือใหญ่ เหมาะกับการติดตั้งบนหลังคาที่ไม่มีความซับซ้อน ข้อดี ราคาถูกและติดตั้งง่ายกว่าแผงแบบ SAMURAI ข้อเสีย ไม่เหมาะกับหลังคาขนาดเล็กเพราะจะทำให้กิโลวัตต์ที่ติดตั้งได้น้อย

         และได้เดินทางไปดูระบบ Energy Management System ที่ใช้ใน Seven Eleven สำหรับควบคุมการใช้ไฟฟ้า โดยระบบดังกล่าวจะแสดงผลว่าการใช้ไฟฟ้าของแต่ละเครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้ทั้งหมดกี่ครั้ง และไฟฟ้าที่ใช้มากที่สุดมาจากการใช้ไฟฟ้าชนิดใด
       จากนั้น คณะเดินทางไปยัง บริษัท คันไซ อิเล็กทริค เพาเวอร์ โค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าขายให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น รถไฟชินคันเซน รถไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน บ้านอยู่อาศัย โดยพลังงานไฟฟ้าของบริษัทฯ ผลิตมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงงานไฟฟ้าความร้อน โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน โรงไฟฟ้าถ่านหิน น้ำมัน LPG รวมไปถึงโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ สำนักงานที่โอซาก้าเป็นสาขาที่จ่ายไฟฟ้าให้เมืองคันไซแค่ 3% ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมด และมีการใช้ระบบ Distribution Automation System (DAS) ซึ่งเป็นระบบ Smart Grids ที่ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ รวมถึงเป็นศูนย์กลางที่คอยแก้ไขการจ่ายไฟฟ้าเมื่อมีปัญหาอีกด้วย โดยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางสามารถตัดระบบการใช้ไฟและตรวจเช็คระบบการใช้งานได้ทันที ซึ่งช่วยให้เกิดความปลอดภัยและรวดเร็ว กว่าระบบเดิม และเดินทางต่อไปยังบริษัท เอเนเกท จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตระบบ Smart Grids และระบบ Smart Meter บริษัทกำลังดำเนินการพัฒนาระบบควบคุมการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โดยแต่ละอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมีระบบมิเตอร์อัจฉริยะซึ่งส่งข้อมูลการใช้ไฟฟ้าผ่านโปรแกรมที่ใช้กับสมาร์ทโฟน เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเช็คการใช้พลังงานในบ้าน ช่วยให้ประหยัดพลังงานและผู้ใช้สามารถหาวิธีการลดการใช้พลังงานได้ด้วยตนเอง

Copyright © 2011 Energy For Environment Foundation. All right reserved.
812/66 ซอยประชาชื่น 26 ถนนประชาชื่น แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทรศัพท์ +66 2115 5895  E-mail : jutamas.efe@gmail.com