มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม มพส

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวทั่วไป

บทความ

ข่าวทั่วไป

“ปิยสวัสดิ์” ชงการบ้านให้ คสช.ผ่าทางตัน หนุนพลังงานหมุนเวียน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตองนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์


        นาย ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ในฐานะประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.) เปิดเผยว่า มพส.ได้จัดทำ “ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย” เพื่อเสนอต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศในฐานะหัวหน้าเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช.) ซึ่งเป็นข้อเสนอที่จะช่วยให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาของการพัฒนาโครงการด้านพลังงาน หมุนเวียน

        เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาผู้พัฒนาโครงการด้านพลังงานหมุนเวียน ต้องประสบปัญหาอุปสรรคหลายด้าน ทำให้การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ สำหรับข้อเสนอแนวทางดังกล่าว ประกอบด้วย 6 ข้อหลักๆ ได้แก่

1.การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ที่ซ้ำซ้อน เช่น แก้ไขมาตรา 48 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน เพื่อให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สามารถออกใบอนุญาตได้โดยไม่ต้องขอความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ การแก้ไขนิยามของโรงงานอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม โดยให้ยกเว้นระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน (โซล่าร์ รูฟท็อป) ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานอุตสาหกรรม, ให้โรงไฟฟ้าขยะที่มูลค่าเงินลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐปี 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และให้ยกเลิกคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุน เวียน

2.ให้ กกพ.ต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน โดยดำเนินการให้การอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าในรูปแบบครบวงจร ออกใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำของกรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ด้วยการประสานงานร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายอย่างใกล้ชิดในการกำกับดูแล ลดขั้นตอนในการติดต่อและใช้ระบบส่งข้อมูลแบบออนไลน์ รวมทั้งการพัฒนาข้อมูลศักยภาพพลังงานหมุนเวียนที่ทันสมัยและแสดงข้อมูล เรื่องข้อจำกัดของระบบส่งไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่

3. การกำหนดมาตรการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนที่ชัดเจน อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสีย ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มีเป้าหมายระยะยาว ให้กิจการด้านพลังงานหมุนเวียนดำเนินการได้ โดยไม่มีการอุดหนุนหรืออุดหนุนน้อยที่สุด เป็นต้น

4. การส่งเสริมโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ อาทิ เร่งดำเนินการโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระรายเล็ก (เอสพีพี) ที่ยังค้างอยู่ ให้มีการเจรจาโดยปรับเงื่อนไขอัตราการรับซื้อไฟฟ้าให้เหมาะสม, โครงการ โซล่าร์รูฟท็อป จำนวน 200 เมกะวัตต์ ให้เปิดเสรีไม่มีการจำกัดโควตา หรือขยายกำลังการผลิตติดตั้งได้เกินกว่า 10 กิโลวัตต์ และไม่จำกัดเพียงหลังคาบ้านเท่านั้น สำหรับประเภทบ้านพักอาศัย และ โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ระดับชุมชน 800 เมกะวัตต์ ก็ให้มอบให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้ดำเนินการแทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

5.การส่งเสริมโครงการพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น ส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน เพื่อกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าไปยังชุมชนที่มีศักยภาพ และเพื่อลดกระแสการต่อต้านจากชุมชน อีกทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ให้การสนับสนุนด้านการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ด้านพลังงานหมุนเวียนในประเทศ

6.มาตรการที่จะใช้ในการส่งเสริมโครงการพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ อาทิ มาตรการเช่าซื้ออุปกรณ์ หรือการให้เงินทุนหมุนเวียนผ่านสถาบันการเงิน ให้แก่โครงการโซล่าร์รูฟท็อป ประเภทบ้านพักอาศัย และโครงการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้เองทั้งในรูปแบบของไฟฟ้าและความร้อน เป็นต้น.
 

8 สิงหาคม 2557

http://www.thairath.co.th

Copyright © 2011 Energy For Environment Foundation. All right reserved.
812/66 ซอยประชาชื่น 26 ถนนประชาชื่น แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทรศัพท์ +66 2115 5895  E-mail : jutamas.efe@gmail.com